งานหนัก งานเยอะ หมดไฟ ไม่อยากตื่นมาทำงาน เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนน่าจะมีความรู้สึกนี้ ถ้านาน ๆ รู้สึกทีก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าหากเกิดขึ้นเป็นประจำ จนบั่นทอนสุขภาพกายสุขภาพใจ ซ้ำร้ายอาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว แต่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงานอีกหลายคน!!
ท่าจะไม่ดีแล้ว พี่กล้วยว่านี่เป็น อาการ Burnout ที่หากปล่อยไว้มีหวังกระทบทั้งประสิทธิภาพการทำงาน และ รายได้ของบริษัทเป็นแน่ เอาละ เมื่อรู้ว่ามีปัญหาก็ต้องแก้ไข แต่ก่อนจะแก้ เรามาทำความเข้าใจ ไอ้เจ้า Burnout กันก่อนว่าคืออะไร อันตรายแค่ไหน และจะแก้ไขอย่างไร ไปดูกันเลย!
"Burnout หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งกับตัวพนักงาน และ กับองค์กร จากผลการสำรวจเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะ Burnout ของ Deloitte พบว่าพนักงานมีขวัญกำลังใจในการทำงานลดน้อยลง 36% ต้องการมีส่วนร่วมกับภาระงานที่ทำน้อยลง 30% และ มีพนักงานต้องการลาออกเพื่อหาที่ทำงานใหม่ที่ดีกว่าเดิมมากถึง 57% เป็นจำนวนที่น่าตกใจใช่ไหมคะ แต่ก่อนที่เราจะมาหาวิธีแก้ไข เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการ Burnout มีอะไรบ้าง"
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะ Burnout ในพนักงาน
1. ปัจจัยที่เกิดจากการทำงาน
รูปแบบของงานที่ทำอยู่อาจเป็นตัวการให้เกิดการหมดไฟในการทำงานได้ อาทิ ภาระงานที่ถืออยู่มีมากเกินไป เป็นเดอะ แบก ของทีม ต้องถือทุกอย่างทำทุกอยย่าง ถูกกดดันด้วยยอด KPI ที่สูงเกินไป หรือ อาจเกิดความเบื่อหน่ายในเนื้องานที่ซ้ำซาก จำเจ ไม่มีการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในการทำงาน
2. ปัจจัยที่เกิดจากการใช้ชีวิต
ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาวะ Burnout เกิดขึ้นได้จากความเป็นปัญเจกชนด้วยเช่นกัน โดยพนักงานที่ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลงอาจเกิดจากปัญหาส่วนตัว อาทิ ปัญหาครอบครัว ปัญหาความสัมพันธ์ ปัญหาทางการเงิน และ อีกมากมายที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน แต่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน
3. ปัจจัยที่เกิดจากบุคลิกภาพส่วนตัว
อุปนิสัย หรือ บุคลิกภาพบางประเภท มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการเกิดภาวะ Burnout ได้ เช่นเป็นคนประเภท Perfectionist ให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์แบบ ชอบตั้งความหวังไว้สูง เมื่อผลลัพธ์การทำงานออกมาไม่เป็นดังที่คาดหวังก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาวะจิตใจให้เกิดความท้อแท้ รับไม่ได้ ในสิ่งที่เป็น หรือเป็นบุคลิกภาพประเภทกลัวความผิดหวัง ไม่กล้าตัดสินใจ นานวันเข้าหากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะกลายเป็นคน Panic ขี้กลัว ไม่กล้าหรือไม่อยากลงมือทำอะไรเลย
การสังเกต อาการ Burnout เบื้องต้น
ภาวะ Burnout เป็นภัยเงียบที่ไม่อาจรับรู้ได้โดยง่าย หรือกว่าจะรู้ก็เกิดผลกระทบในด้านลบขึ้นไปแล้ว เพื่อช่วยรักษาผลประโยชย์ให้เพื่อน ๆ HR พี่กล้วยมีวิธีสังเกตุอาการ Burnout เบื้องต้นของพนักงานมาฝาก
1. พนักงานมีลักษณะเปลี่ยนไป : การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้อาจแสดงออกได้ทั้งจากนิสัย และ สุขภาพ โดยคนที่มีอาการ Burnout มักจะสีหน้าไม่สดชื่น พูดน้อยลง เก็บตัวเงียบ หรือมีลักษณะการแสดงบางอย่างที่ผิดปกติ
2. มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน : การหมดไฟในการผลต่ออารมณ์และการแสดง ปัญหาเล็กน้อยที่เกิดจากการทำงาน หรือ ความเครียดสะสมภายในทีมอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อความสัมพันธุ์ในการทำงานได้
3. ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง : ภาวะ Burnout ส่งผลโดยตรงกับประสิทธิภาพการทำงาน โดยอาจทำให้งานเสร็จไม่ตรงเวลา บริหารเวลาไม่ได้ งานไม่มีคุณภาพ งานเสร็จไม่สมบูรณ์ อันสืบเนื่องมาจากความไม่เต็มร้อยในการทำงานนั่นเอง
ทั้งสามข้อนี้เป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้น และเนื่องจากการเกิดภาวะ Burnout มีสาเหตุปัจจัยที่ซับซ้อน บริษัทจึงควรให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดและแก้ไขปัญหา เพื่อให้ผลออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด และ ใช่ค่ะ พี่กล้วยมีเคล็ดลับดี ๆ ในการจัดการปัญหาพนักงาน Burnout มาฝาก จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
1). สังเกตประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง
การสังเกต และ ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน เป็นการแก้ไขเบื้องต้นที่จะช่วยให้คาดการณ์ได้ว่าพนักงานคนไหนกำลังมีปัญหา และเมื่อพิจารณาแล้วว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากปัจจัยอะไร บริษัทจะได้คิดหาแนวทางในการช่วยเหลือได้
2). ช่วยดูปัญหาและยืดหยุ่นในแนวทางแก้ไข
เมื่อได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้วว่าพนักงาน หรือ แผนกไหนมีปัญหา HR ควรเข้าไปดูแล สอบถามในเบื้องต้นว่า ปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ ไม่อยากทำงานนั้นเกิดจากอะไร เพื่อหาแนวทางที่ยืดหยุ่น ตกลงกันได้ในการทำงาน
3). ตรวจสอบและจัดการปริมาณงาน
ส่วนใหญ่ปัญหาในที่ทำงานที่ส่งผลให้เกิดภาวะหมดไฟจะมาจากปริมาณงานที่มากจนเกินไป แนวทางที่จะช่วยให้แก้ไขได้คือ ตรวจเช็คปริมาณงานและปรึกษากับผู้จัดการว่าควรจัดการเนื้องานด้วยวิธีใด แบ่งงานใหม่ หรือ รับพนักงานใหม่เข้ามาดูแลในส่วนนี้
4). ให้คำปรึกษา เปลี่ยนมุมองเรื่องมุมมองการทำงานแบบทีมเวิร์ค
ความสัมพันธุ์ที่ไม่ดีในทีม จะส่งผลให้พนักงานมีความรู้สึกว่าถูกกีดดัน หรือผลักให้เป็นคนนอก หากเกิดปัญหานี้ขึ้นและบริษัทรับรู้ ต้องรีบหาแนวทางการแก้ไข เพื่อปรับมุมมอง และ วางเป้าให้คนในทีมมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียว
5). เปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน
การนั่งทำงานหน้าจอคอมซ้ำ ๆ ย่อมก่อให้เกิดความอ่อนล้า หรือ เบื่อหน่าย จนพาลหมดพลังใจในการทำงานเอาได้ เรื่องง่าย ๆ ที่จะช่วยชาร์ตพลังให้พนักงานคือการเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ จัดงานสังสรรค์ หรือ ชวนกันไปเอาท์ติ้งปล่อยตัว ปล่อยใจสักวันสองวัน รับรองว่าจะช่วยให้พนักงาน Re-fresh ขึ้นได้อย่างแน่นอน ว่าแล้วพี่กล้วยก็มีลิสต์สถานที่จัดงานสังสรรค์ จัดเอาท์ติ้ง ดี ๆ มาฝาก ใครสนใจตามด้านที่ด้านล่างนี้เลยน้า
- แนะนำ 4 ร้านอาหารทำเลดี จัดปาร์ตี้บริษัท
- 4 ที่เอาท์ติ้งบริษัท จาก 4 จังหวัด สถานที่สวย กิจกรรมเพียบ
- ที่จัดปาร์ตี้บริษัทแบบเอาท์ดอร์ บรรยากาศชิล วิวสวย
ภาวะ Burnout เกิดได้จากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย แต่ก็ไม่ใช่ว่าแก้ไขไม่ได้ การที่บริษัทเอาใจใส่พนักงานมีการตรวจสอบ ให้คำปรึกษา และ แนวทางที่ถูกต้องจะช่วยให้พนักงานเกิดความ Loyalty กับองค์กร และช่วยส่งเสริมให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นโดยตัวพนักงานเอง เอาละ! สำหรับบริษัทไหนที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน เติมชีวิตชีวาให้พนักงาน อย่าลืมมองหาสถานที่เปลี่ยนบรรยากาศผ่าน www.eventbanana.com นะคะ เช็คราคาฟรี เป็นที่ปรึกษาขนาดนี้ มีแค่พี่กล้วยเท่านั้นแหละที่ทำ อิอิ